สัญโญชน์และที่ตั้งแห่งสัญโญชน์
( ขันธ์ห้า )
ภิกษุทั้งหลาย !
เราจักแสดง
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์และสัญโญชน์เธอทั้งหลายจงฟัง
…
ภิกษุทั้งหลาย !
ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์เป็นอย่างไร ?
และสัญโญชน์เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย !รูป เป็นธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจในรูป
ชื่อว่า สัญโญชน์
ภิกษุทั้งหลาย !เวทนา เป็นธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจในเวทนา
ชื่อว่า สัญโญชน์
ภิกษุทั้งหลาย !สัญญา เป็นธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา
ชื่อว่า สัญโญชน์
ภิกษุทั้งหลาย !สังขาร เป็นธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจในสังขาร
ชื่อว่า สัญโญชน์
ภิกษุทั้งหลาย !วิญญาณ เป็นธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณ
ชื่อว่า สัญโญชน์
ภิกษุทั้งหลาย !ขันธ์เหล่านี้เรียกว่า
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ฉันทราคะ นี้เรียกว่า
สัญโญชน์
( บาลี – ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๒/๓๐๘ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้