การปรินิพพานของตถาคต
สารีบุตร !
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
กล่าวอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ว่าชั่วเวลาที่บุรุษนี้ยังเป็นหนุ่มมีผมดำสนิท
ประกอบด้วยความหนุ่มแน่น
ตั้งอยู่ในปฐมวัย ก็ยังคงประกอบด้วย
ปัญญาอันเฉียบแหลมว่องไวอยู่เพียงนั้นเมื่อใดบุรุษนี้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่
ล่วงกาลนาน ผ่านวัยไปแล้วมีอายุ ๘๐ ปี
๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี จากการเกิดเมื่อนั้น เขาย่อมเป็นผู้เสื่อมสิ้น
จากปัญญาอันเฉียบแหลมว่องไวสารีบุตร !
ข้อนี้ เธออย่าพึงเห็นอย่างนั้นเรานี้แลในบัดนี้
เป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่
ล่วงกาลผ่านวัยมาแล้ว
วัยของเรานับได้ ๘๐ ปี
๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปีจากการเกิดสารีบุตร !
ธรรมเทศนาที่แสดงไปนั้น
ก็มิได้แปรปรวนบทพยัญชนะแห่งธรรมของตถาคต
ก็มิได้แปรปรวนปฏิภาณในการตอบปัญหาของตถาคต
ก็มิได้แปรปรวน…
สารีบุตร !
แม้ว่าเธอทั้งหลาย จักนำเราไปด้วยเตียงน้อย
ความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแห่งปัญญา
อันเฉียบแหลมว่องไวของตถาคต ก็มิได้มีสารีบุตร !
ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวให้ถูก ให้ชอบว่าสัตว์มีความไม่หลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นในโลก
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่มหาชน
เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์
เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้แล้วผู้นั้นพึงกล่าว ซึ่งเราผู้เดียวเท่านั้น
( บาลี – มู. ม. ๑๒/๑๖๓-๑๖๕/๑๙๒ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้
ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วลูบคลำทั่วพระกายของพระผู้มีพระภาคอยู่พลางกล่าวถ้อยคำนี้ ว่า
…
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ข้อนี้น่าอัศจรรย์ ข้อนี้ไม่เคยมีมาก่อนข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
บัดนี้ ฉวีวรรณของพระผู้มีพระภาค
ไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนแต่ก่อน
และพระกายก็เหี่ยวย่นหย่อนยาน
มีพระองค์ค้อมไปข้างหน้าอินทรีย์ทั้งหลายก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปหมด
ทั้งพระจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะอานนท์ !
นั่นต้องเป็นอย่างนั้น คือความชรา มีอยู่ในความหนุ่ม
ความเจ็บไข้ มีอยู่ในความไม่มีโรค
ความตาย มีอยู่ในชีวิตฉวีวรรณจึงไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเสียแล้ว
และกายก็เหี่ยวย่นหย่อนยาน มีตัวค้อมไปข้างหน้า
อินทรีย์ทั้งหลายก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปหมด
ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ดังนี้พระผู้มีพระภาคครั้นตรัสคำนี้แล้ว
ได้ตรัสข้อความนี้ อีกว่าโธ่เอ๋ย !
ความแก่อันชั่วช้าเอ๋ย !
อันทำความน่าเกลียดเอ๋ย !กายที่น่าพอใจ
บัดนี้ก็ถูกความแก่ย่ำยีหมดแล้วแม้ใครจะมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี
ทุกคนก็ยังมีความตายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ความตายไม่ยกเว้นให้แก่ใคร มันย่ำยีหมดทุกคน
( บาลี – มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๘๗-๒๘๘/๙๖๓-๙๖๕ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้
อานนท์ !
บัดนี้ เรามีสติสัมปชัญญะ
ปลงอายุสังขารแล้ว ณ ปาวาลเจดีย์นี้พระอานนท์ได้สติ จึงทูลขอให้ดำรงพระชนม์ชีพ
อยู่ด้วยอิทธิบาทภาวนากัปป์หนึ่งหรือยิ่งกว่ากัปป์ทรงปฏิเสธ
อานนท์ !
อย่าเลย อย่าวิงวอนตถาคตเลย
มิใช่เวลาจะวิงวอนตถาคตเสียแล้วพระอานนท์ทูลวิงวอนอีก จนครบสามครั้ง
ได้รับพระดำรัสตอบอย่างเดียวกัน ตรัสว่าเป็นความผิดของพระอานนท์ผู้เดียว
แล้วทรงจาระไนสถานที่ ๑๖ แห่ง
ที่เคยให้โอกาสแก่พระอานนท์ในเรื่องนี้
แต่พระอานนท์ รู้ไม่ทันสักครั้งเดียวอานนท์ !
ในที่นั้น ๆ ถ้าเธอวิงวอนตถาคต
ตถาคตจักห้ามเสียสองครั้ง
แล้วจักรับคำในครั้งที่สาม
( บาลี – มหา. ที. ๑๐/๑๓๑-๑๓๕/๑๐๒ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้
อานนท์ !
ตถาคตได้บอกแล้วมิใช่หรือว่าสัตว์จะต้องพลัดพราก
จากของรักของชอบใจทั้งสิ้นสัตว์จะได้ตามปรารถนา
ในสังขารนี้ แต่ที่ไหนเล่าข้อที่สัตว์จะหวังเอาสิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว
มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีการแตกดับเป็นธรรมดา
ว่าสิ่งนี้อย่าฉิบหายเลย ดังนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่มีได้ เป็นได้
สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่
ทั้งที่เป็นคนพาลและบัณฑิต ทั้งที่มั่งมีและยากจน
ล้วนแต่มีความตาย เป็นที่ไปถึงในเบื้องหน้าเปรียบเหมือนภาชนะดิน ที่ช่างหม้อปั้นแล้ว
ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกแล้วและยังดิบ
ล้วนแต่มีการแตกทำลายเป็นที่สุด ฉันใดชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลาย
ก็มีความตายเป็นเบื้องหน้า ฉันนั้นวัยของเราแก่หง่อมแล้ว
ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว เราจักละพวกเธอไป
สรณะของตัวเอง เราได้ทำไว้แล้ว…
ภิกษุทั้งหลาย !
พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท
มีสติ มีศีลเป็นอย่างดี
มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดีตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด
ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว
จักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
( บาลี – มหา. ที. ๑๐/๑๔๑-๑๔๒/๑๐๘ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้