อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ
อานนท์ !
อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย
เป็นอย่างไรเล่า ?อานนท์ !
ในกรณีนี้อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะเห็นรูปด้วยตาภิกษุนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่า
อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้
เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ ๆ
เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นแต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต
กล่าวคือ อุเบกขา ดังนี้เมื่อรู้ชัดอย่างนี้
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปอุเบกขา ยังคงดำรงอยู่
…
อานนท์ !
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป
เร็วเหมือนการกระพริบตาของคนอุเบกขา ยังคงดำรงอยู่
อานนท์ !
นี้แล เราเรียกว่าอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย
ในกรณีแห่งรูป ที่รู้แจ้งด้วยจักษุ
อานนท์ !
ในกรณีนี้อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะฟังเสียงด้วยหูภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้
เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ ๆ
เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นแต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต
กล่าวคือ อุเบกขา ดังนี้เมื่อรู้ชัดอย่างนี้
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปอุเบกขา ยังคงดำรงอยู่
…
อานนท์ !
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป
เร็วเหมือนการดีดนิ้วมืออุเบกขา ยังคงดำรงอยู่
อานนท์ !
นี้แล เราเรียกว่าอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย
ในกรณีแห่งเสียง ที่รู้แจ้งด้วยโสตะ
อานนท์ !
ในกรณีนี้อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะสูดกลิ่นด้วยจมูกภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้
เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ ๆ
เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นแต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต
กล่าวคือ อุเบกขา ดังนี้เมื่อรู้ชัดอย่างนี้
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปอุเบกขา ยังคงดำรงอยู่
…
อานนท์ !
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป
เร็วเหมือนหยดน้ำตกจากใบบัวอุเบกขา ยังคงดำรงอยู่
อานนท์ !
นี้แล เราเรียกว่าอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย
ในกรณีแห่งกลิ่น ที่รู้แจ้งด้วยฆานะ
อานนท์ !
ในกรณีนี้อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะลิ้มรสด้วยลิ้นภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้
เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ ๆ
เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นแต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต
กล่าวคือ อุเบกขา ดังนี้เมื่อรู้ชัดอย่างนี้
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปอุเบกขา ยังคงดำรงอยู่
…
อานนท์ !
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป
เร็วเหมือนน้ำลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรงอุเบกขา ยังคงดำรงอยู่
อานนท์ !
นี้แล เราเรียกว่าอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย
ในกรณีแห่งรส ที่รู้แจ้งด้วยชิวหา
อานนท์ !
ในกรณีนี้อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุ
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้
เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ ๆ
เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นแต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต
กล่าวคือ อุเบกขา ดังนี้เมื่อรู้ชัดอย่างนี้
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปอุเบกขา ยังคงดำรงอยู่
…
อานนท์ !
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป
เร็วเหมือนการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรงอุเบกขา ยังคงดำรงอยู่
อานนท์ !
นี้แล เราเรียกว่าอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย
ในกรณีแห่งโผฎฐัพพะ ที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย
อานนท์ !
ในกรณีนี้อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุ
เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้
เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ ๆ
เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นแต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต
กล่าวคือ อุเบกขา ดังนี้เมื่อรู้ชัดอย่างนี้
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปอุเบกขา ยังคงดำรงอยู่
…
อานนท์ !
อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ
ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ
อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป
เร็วเหมือนการแห้งของหยดน้ำ
บนกระทะเหล็กที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวันอุเบกขา ยังคงดำรงอยู่
อานนท์ !
นี้แล เราเรียกว่าอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย
ในกรณีแห่งธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วยใจ
( บาลี – อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๖/๘๕๖–๘๖๑ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้