สักกายะ



ภิกษุทั้งหลาย !

เราจักแสดงสักกายะ
สักกายสมุทัย
สักกายนิโรธ
และสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา
แก่เธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงฟัง



ภิกษุทั้งหลาย !
ก็สักกายะเป็นอย่างไร ?

สักกายะนั้น
ควรจะกล่าวว่าคือ อุปาทานขันธ์ห้า

อุปาทานขันธ์ห้า
เป็นอย่างไร ?

อุปาทานขันธ์ห้านั้น ได้แก่

อุปาทานขันธ์คือรูป
( รูปูปาทานขันธ์ )

อุปาทานขันธ์คือเวทนา
( เวทนูปาทานขันธ์ )

อุปาทานขันธ์คือสัญญา
( สัญญูปาทานขันธ์ )

อุปาทานขันธ์คือสังขาร
( สังขารูปาทานขันธ์ )

อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ
( วิญญาณูปาทานขันธ์ )

ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรียกว่า สักกายะ



ภิกษุทั้งหลาย !
ก็สักกายสมุทัยเป็นอย่างไร ?

สักกายสมุทัยนั้น คือ
ตัณหาอันนำให้เกิดในภพใหม่
ประกอบด้วยความกำหนัด
ด้วยอำนาจความเพลิน
ทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ

กล่าวคือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรียกว่า สักกายสมุทัย



ภิกษุทั้งหลาย !
ก็สักกายนิโรธเป็นอย่างไร ?

สักกายนิโรธ คือ
ความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ
ความสละทิ้ง
ความสละคืน
ความหลุดพ้น
ความไม่อาลัยซึ่งตัณหานั้น

ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรียกว่า สักกายนิโรธ



ภิกษุทั้งหลาย !
ก็สักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นอย่างไร ?

สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา คือ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์แปดนี้

กล่าวคือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรียกว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา


( บาลี – ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๓-๑๙๔/๒๘๔-๒๘๘ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้


Create by buddha-quote.com