ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดแสดงอุเทศและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ แก่ข้าพระองค์เถิดพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุ ถ้าเช่นนั้นเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว
…
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงสิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึงก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุโปร่งเถิดพึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่า
ความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลายพระมุนีผู้สงบ
ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
…
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้
ครั้นแล้วพระสุคตจึงทรงลุกจากอาสนะ
เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร
ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน
ภิกษุเหล่านั้นจึงได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า…
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศโดยย่อ แก่พวกเราว่าบุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงสิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึงก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน
ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุโปร่งเถิดพึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่า
ความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลายพระมุนีผู้สงบ
ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ดังนี้แล
มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร
ก็ทรงลุกออกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร
ใครหนอแล จะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศ
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้…
ครั้งนั้นแล
ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
ท่านพระมหากัจจานะนี้แล
อันพระศาสดาและพวกภิกษุ
ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์
ผู้เป็นวิญญูชน ยกย่อง สรรเสริญแล้ว…
ก็ท่านพระมหากัจจานะ
พอจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศ
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ถ้ากระไร พวกเรา
พึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้ว
พึงสอบถามเนื้อความนี้ กะท่านพระมหากัจจานะเถิด
ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวดังนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ก็บุคคล
ย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร ?…
คือ มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
ในจักษุและรูปว่า จักษุของเราได้เป็นดังนี้
รูปได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้วเพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว…
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
ในโสตและเสียงว่า โสตของเราได้เป็นดังนี้
เสียงได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้วเพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงเพลิดเพลินโสตและเสียงนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว…
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
ในฆานะและกลิ่นว่า ฆานะของเราได้เป็นดังนี้
กลิ่นได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้วเพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงเพลิดเพลินฆานะและกลิ่นนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว…
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
ในชิวหาและรสว่า ชิวหาของเราได้เป็นดังนี้
รสได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้วเพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงเพลิดเพลินชิวหาและรสนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว…
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
ในกายและโผฏฐัพพะว่า กายของเราได้เป็นดังนี้
โผฏฐัพพะได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้วเพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงเพลิดเพลินกายและโผฏฐัพพะนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว…
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
ในมโนและธรรมารมณ์ว่า มโนของเราได้เป็นดังนี้
ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้วเพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว…
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !
อย่างนี้แล ชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ก็บุคคล
จะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร ?…
คือ มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
ในจักษุและรูปว่า จักษุของเราได้เป็นดังนี้
รูปได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้วเพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว…
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
ในโสตและเสียงว่า โสตของเราได้เป็นดังนี้
เสียงได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้วเพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงไม่เพลิดเพลินโสตและเสียงนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว…
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
ในฆานะและกลิ่นว่า ฆานะของเราได้เป็นดังนี้
กลิ่นได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้วเพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงไม่เพลิดเพลินฆานะและกลิ่นนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว…
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
ในชิวหาและรสว่า ชิวหาของเราได้เป็นดังนี้
รสได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้วเพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงไม่เพลิดเพลินชิวหาและรสนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว…
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
ในกายและโผฏฐัพพะว่า กายของเราได้เป็นดังนี้
โผฏฐัพพะได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้วเพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงไม่เพลิดเพลินกายและโผฏฐัพพะนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว…
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
ในมโนและธรรมารมณ์ว่า มโนของเราได้เป็นดังนี้
ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้วเพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงไม่เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว…
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !
อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ก็บุคคล
ย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร ?…
คือ บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอจักษุของเราพึงเป็นดังนี้
ขอรูปพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคตเพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย
จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง…
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้
ขอเสียงพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคตเพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย
จึงเพลิดเพลินโสตและเสียงนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง…
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้
ขอกลิ่นพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคตเพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย
จึงเพลิดเพลินฆานะและกลิ่นนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง…
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้
ขอรสพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคตเพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย
จึงเพลิดเพลินชิวหาและรสนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง…
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้
ขอโผฏฐัพพะพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคตเพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย
จึงเพลิดเพลินกายและโผฏฐัพพะนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง…
บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้
ขอธรรมารมณ์พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคตเพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย
จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง…
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !
อย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ก็บุคคล
จะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร ?…
คือ บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอจักษุของเราพึงเป็นดังนี้
ขอรูปพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคตเพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย
จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน
จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง…
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้
ขอเสียงพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคตเพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย
จึงไม่เพลิดเพลินโสตและเสียงนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน
จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง…
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้
ขอกลิ่นพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคตเพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย
จึงไม่เพลิดเพลินฆานะและกลิ่นนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน
จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง…
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้
ขอรสพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคตเพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย
จึงไม่เพลิดเพลินชิวหาและรสนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน
จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง…
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้
ขอโผฏฐัพพะพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคตเพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย
จึงไม่เพลิดเพลินกายและโผฏฐัพพะนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน
จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง…
บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า
ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้
ขอธรรมารมณ์พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคตเพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย
จึงไม่เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน
จึงชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง…
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !
อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ก็บุคคล
ย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร ?…
คือ มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
ในจักษุและรูปทั้งสองอย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแลเพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน…
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
ในโสตและเสียงทั้งสองอย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแลเพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงเพลิดเพลินโสตและเสียงนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน…
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
ในฆานะและกลิ่นทั้งสองอย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแลเพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงเพลิดเพลินฆานะและกลิ่นนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน…
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
ในชิวหาและรสทั้งสองอย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแลเพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงเพลิดเพลินชิวหาและรสนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน…
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
ในกายและโผฏฐัพพะทั้งสองอย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแลเพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงเพลิดเพลินกายและโผฏฐัพพะนั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน…
มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
ในมโนและธรรมารมณ์ทั้งสองอย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั่นแลเพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงเพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น
เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน…
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !
อย่างนี้แล ชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !ก็บุคคล
ย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร ?…
คือ มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
ในจักษุและรูปทั้งสองอย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแลเพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน
จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน…
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
ในโสตและเสียงทั้งสองอย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแลเพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงไม่เพลิดเพลินโสตและเสียงนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน
จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน…
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
ในฆานะและกลิ่นทั้งสองอย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแลเพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงไม่เพลิดเพลินฆานะและกลิ่นนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน
จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน…
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
ในชิวหาและรสทั้งสองอย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแลเพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงไม่เพลิดเพลินชิวหาและรสนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน
จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน…
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
ในกายและโผฏฐัพพะทั้งสองอย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแลเพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงไม่เพลิดเพลินกายและโผฏฐัพพะนั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน
จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน…
มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
ในมโนและธรรมารมณ์ทั้งสองอย่าง
ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแลเพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ
จึงไม่เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น
เมื่อไม่เพลิดเพลิน
จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน…
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย !
อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย !
มหากัจจานะเป็นบัณฑิต มีปัญญามากแม้หากพวกเธอสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา
เราก็จะพยากรณ์เนื้อความนั้น
อย่างเดียวกับที่มหากัจจานะพยากรณ์
แล้วเหมือนกันก็แหละเนื้อความของอุเทศนั้นเป็นดังนี้แล
พวกเธอจงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้นเถิด…
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล
( บาลี – อุปริ. ม. ๑๔/๓๕๘-๓๖๘/๕๕๐-๕๖๔ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้