ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ
ควรทำให้เจริญ ควรทำให้แจ้ง
( นัยที่ ๒ )
ภิกษุทั้งหลาย !
ส่วนบุคคล เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ
ตามความเป็นจริงเมื่อรู้เมื่อเห็นรูป
ตามความเป็นจริงเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ
ตามความเป็นจริงเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส
ตามความเป็นจริงเมื่อรู้เมื่อเห็นเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
เป็นสุขก็ตาม อันเป็นทุกข์ก็ตาม
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ตามความเป็นจริง
เขาย่อม ไม่กำหนัดในจักษุ
ไม่กำหนัดในรูป
ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ
ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส
ไม่กำหนัดในเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม
มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม…
เมื่อบุคคลนั้น
ไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว
ไม่หลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่อุปาทานขันธ์ห้า
ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป
และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่
อันประกอบด้วย
ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน
มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น
เขาย่อมละเสียได้ความกระวนกระวายแม้ทางกาย
เขาย่อมละเสียได้ความกระวนกระวายแม้ทางจิต
เขาย่อมละเสียได้ความแผดเผาแม้ทางกาย
เขาย่อมละเสียได้ความแผดเผาแม้ทางจิต
เขาย่อมละเสียได้ความเร่าร้อนแม้ทางกาย
เขาย่อมละเสียได้ความเร่าร้อนแม้ทางจิต
เขาย่อมละเสียได้บุคคลนั้น ย่อมเสวย
ซึ่งความสุขอันเป็นไปทางกายด้วย
ซึ่งความสุขอันเป็นไปทางจิตด้วย
เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว
ทิฏฐิของเขา
ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิความดำริของเขา
ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะความพยายามของเขา
ย่อมเป็นสัมมาวายามะสติของเขา
ย่อมเป็นสัมมาสติสมาธิของเขา
ย่อมเป็นสัมมาสมาธิส่วนกายกรรม วจีกรรมและอาชีวะของเขา
ย่อมบริสุทธิ์ อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียวด้วยอาการอย่างนี้
เป็นอันว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค ของเขานั้น
ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์…
เมื่อเขาทำ อริยอัฏฐังคิกมรรค
ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้สติปัฏฐานทั้งสี่
ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์สัมมัปปธานทั้งสี่
ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์อิทธิบาททั้งสี่
ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์อินทรีย์ทั้งห้า
ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์พละทั้งห้า
ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์โพชฌงค์ทั้งเจ็ด
ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์…
ธรรมทั้งสอง คือ
สมถะและวิปัสสนา ของเขานั้น
ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไปเขาชื่อว่า
ย่อมกำหนดรู้ซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งย่อมละ
ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมทั้งหลาย
อันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่งย่อมทำให้เจริญ
ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมทั้งหลาย
อันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งย่อมทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรมทั้งหลาย
อันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย !
ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร ?กล่าวคือ
อุปาทานขันธ์ทั้งห้าได้แก่
อุปาทานขันธ์ คือรูป
อุปาทานขันธ์ คือเวทนา
อุปาทานขันธ์ คือสัญญา
อุปาทานขันธ์ คือสังขาร
อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย !
ก็ธรรมที่ควรละ
ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร ?กล่าวคือ
อวิชชาและภวตัณหาเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย !
ก็ธรรมที่ควรทำให้เจริญ
ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร ?กล่าวคือ
สมถะและวิปัสสนาเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ภิกษุทั้งหลาย !
ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไร ?กล่าวคือ
วิชชาและวิมุตติเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง… … … … … … …
ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ
ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน
พึงขยายความเอาเองให้เต็มตามนั้น… … … … … … …
( บาลี – อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๓-๕๒๖/๘๒๘-๘๓๑ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้