ขันธ์ห้าไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา



ภิกษุทั้งหลาย !

รูปไม่เที่ยง
แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น
ก็ไม่เที่ยง

รูปที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง
จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

เวทนาไม่เที่ยง
แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น
ก็ไม่เที่ยง

เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง
จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

สัญญาไม่เที่ยง
แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น
ก็ไม่เที่ยง

สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง
จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

สังขารไม่เที่ยง
แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้น
ก็ไม่เที่ยง

สังขารที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง
จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

วิญญาณไม่เที่ยง
แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น
ก็ไม่เที่ยง

วิญญาณที่เกิดจากสิ่งไม่เที่ยง
จะเป็นของเที่ยงได้อย่างไร



ภิกษุทั้งหลาย !

รูปเป็นทุกข์
แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์

รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์
จะเป็นสุขได้อย่างไร

เวทนาเป็นทุกข์
แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น
ก็เป็นทุกข์

เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์
จะเป็นสุขได้อย่างไร

สัญญาเป็นทุกข์
แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น
ก็เป็นทุกข์

สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์
จะเป็นสุขได้อย่างไร

สังขารเป็นทุกข์
แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้น
ก็เป็นทุกข์

สังขารที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์
จะเป็นสุขได้อย่างไร

วิญญาณเป็นทุกข์
แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น
ก็เป็นทุกข์

วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์
จะเป็นสุขได้อย่างไร



ภิกษุทั้งหลาย !

รูปเป็นอนัตตา
แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา

รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา
จะเป็นอัตตาได้อย่างไร

เวทนาเป็นอนัตตา
แม้เหตุปัจจัยที่ให้เวทนาเกิดขึ้น
ก็เป็นอนัตตา

เวทนาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา
จะเป็นอัตตาได้อย่างไร

สัญญาเป็นอนัตตา
แม้เหตุปัจจัยที่ให้สัญญาเกิดขึ้น
ก็เป็นอนัตตา

สัญญาที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา
จะเป็นอัตตาได้อย่างไร

สังขารเป็นอนัตตา
แม้เหตุปัจจัยที่ให้สังขารเกิดขึ้น
ก็เป็นอนัตตา

สังขารที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา
จะเป็นอัตตาได้อย่างไร

วิญญาณเป็นอนัตตา
แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา

วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา
จะเป็นอัตตาได้อย่างไร


( บาลี – ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๙-๓๐/๔๕-๔๗ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้



ภิกษุทั้งหลาย !

รูปไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้อริยสาวก
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้

เวทนาไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้อริยสาวก
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้

สัญญาไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้อริยสาวก
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้

สังขารไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้อริยสาวก
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้

วิญญาณไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ข้อนี้อริยสาวก
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้



อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในรูป
แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา
แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด

เพราะคลายกำหนัด
จึงหลุดพ้น

เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นที่ต้องทำ
เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี


( บาลี – ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘/๔๒ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้


Create by buddha-quote.com