กำลังของเสขบุคคล ๕ ประการ
ภิกษุทั้งหลาย
กำลังของเสขบุคคล ๕ ประการเหล่านี้
๕ ประการอะไรบ้าง คือกำลังคือ ศรัทธา
กำลังคือ หิริ
กำลังคือ โอตตัปปะ
กำลังคือ วิริยะ
กำลังคือ ปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย
ก็กำลังคือศรัทธาเป็นอย่างไร คือภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา
ย่อมเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่าแม้เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ
พระผู้มีพระภาคนั้นเป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นจะยิ่งกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมนี้เรียกว่ากำลังคือ ศรัทธา
ภิกษุทั้งหลาย
ก็กำลังคือหิริเป็นอย่างไร คืออริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้มีหิริ
ย่อมละอายต่อ
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตย่อมละอายต่อ
การประกอบอกุศลธรรมอันเป็นบาปนี้เรียกว่ากำลังคือ หิริ
ภิกษุทั้งหลาย
ก็กำลังคือโอตตัปปะเป็นอย่างไร คืออริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้มีโอตตัปปะ
ย่อมสะดุ้งกลัวต่อ
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตย่อมสะดุ้งกลัวต่อ
การประกอบอกุศลธรรมอันเป็นบาปนี้เรียกว่ากำลังคือ โอตตัปปะ
ภิกษุทั้งหลาย
ก็กำลังคือวิริยะเป็นอย่างไร คืออริยสาวกในกรณีนี้ ย่อมปรารภความเพียร
เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายให้ถึงพร้อมเป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น
มั่นคงไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลายนี้เรียกว่ากำลังคือ วิริยะ
ภิกษุทั้งหลาย
ก็กำลังคือปัญญาเป็นอย่างไร คืออริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้มีปัญญา
ประกอบด้วยปัญญา
เครื่องหยั่งถึงความเกิดขึ้นและดับไป
อันเป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส
ให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบนี้เรียกว่ากำลังคือ ปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล
กำลังของพระเสขบุคคล ๕ ประการภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
พวกเราจักเป็นผู้ประกอบด้วยกำลังคือ ศรัทธา
กำลังคือ หิริ
กำลังคือ โอตตัปปะ
กำลังคือ วิริยะ
กำลังคือ ปัญญา
อันเป็นกำลังของเสขบุคคล…
ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล
( บาลี – ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒-๓/๒ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้