เข้าใจเขา เข้าใจเรา
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
เราจักแสดงธรรมปริยาย
อันควรน้อมเข้ามาในตน แก่ท่านทั้งหลายท่านทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว…
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ธรรมปริยายที่ควรน้อมเข้ามาในตน
เป็นอย่างไรเล่า ?
( ๑ )
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าเราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์
ผู้ใดจะปลงเรา ผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอนึ่ง เราพึงปลงผู้อื่น ผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย
รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น…
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่นธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร…
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนั้นแล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่องดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นปาณาติบาตด้วยกายสมาจาร ของอริยสาวกนั้น
ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
( ๒ )
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงถือเอาสิ่งของ
ที่เรามิได้ให้ ด้วยอาการขโมย
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอนึ่ง เราพึงถือเอาสิ่งของ
ที่ผู้อื่นมิได้ให้ ด้วยอาการขโมย
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น…
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่นธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร…
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากอทินนาทานด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากอทินนาทานด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากอทินนาทานด้วยกายสมาจาร ของอริยสาวกนั้น
ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
( ๓ )
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงถึงความประพฤติ ( ผิด ) ในภริยาของเรา
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอนึ่ง เราพึงถึงความประพฤติ ( ผิด ) ในภริยาของผู้อื่น
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น…
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่นธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร…
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วยกายสมาจาร ของอริยสาวกนั้น
ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
( ๔ )
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงทำลายประโยชน์ของเราด้วยการกล่าวเท็จ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่่ชอบใจของเราอนึ่ง เราพึงทำลายประโยชน์ของผู้อื่นด้วยการกล่าวเท็จ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น…
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่นธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร…
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากมุสาวาทด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากมุสาวาทด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากมุสาวาทด้วยวจีสมาจาร ของอริยสาวกนั้น
ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
( ๕ )
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงยุยงให้เราแตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอนึ่ง เราพึงยุยงผู้อื่นให้แตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น…
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่นธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร…
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้เว้นจากปิสุณาวาจาด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วยวจีสมาจาร ของอริยสาวกนั้น
ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
( ๖ )
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยคำหยาบ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอนึ่ง เราพึงพูดกะผู้อื่นด้วยคำหยาบ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น…
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่นธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร…
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากผรุสวาจาด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากผรุสวาจาด้วยวจีสมาจาร ของอริยสาวกนั้น
ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
( ๗ )
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
อีกประการหนึ่ง
อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ
ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอนึ่ง เราพึงพูดกะผู้อื่นด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ
ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น…
ธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้น ก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่นธรรมข้อใด ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นได้อย่างไร…
อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ตนเองย่อมงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย
ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วยวจีสมาจาร ของอริยสาวกนั้น
ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้
อริยสาวกนั้น
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ประกอบด้วยศีล
ที่พระอริยเจ้ารักใคร่แล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ…
พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
เมื่อใดอริยสาวก
ประกอบด้วยสัทธธรรม ๗ ประการนี้เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่
ด้วยฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความหวัง ๔ ประการนี้
พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่าเรามีนรก กำเนิดดิรัจฉาน วิสัยแห่งเปรต
อบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้วเราเป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
( บาลี – มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๔๒-๔๔๖/๑๔๕๘-๑๔๖๕ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้