ลักษณะของผู้ไม่ตั้งจิต
ในกายคตาสติ
ภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด
ซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน คือพึงจับงู จระเข้ นก
สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง
แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่นครั้นแล้ว
พึงขมวดปมไว้ตรงกลางปล่อยไป
ทีนั้นแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น
ซึ่งมีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน
พึงดึงมาสู่โคจรและวิสัยของตน ๆ คืองูพึงดึงมาด้วยคิดว่า
เราจักเข้าไปสู่จอมปลวกจระเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่า
เราจักลงแม่น้ำนกพึงดึงมาด้วยคิดว่า
เราจักบินขึ้นสู่อากาศสุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า
เราจักเข้าไปบ้านสุนัขจิ้งจอกพึงดึงมาด้วยคิดว่า
เราจักเข้าสู่ป่าช้าลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า
เราจักเข้าไปสู่ป่า…
ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น
ต่างก็จะไปตามวิสัยของตน ๆ พึงลำบากเมื่อนั้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น
สัตว์ใดมีกำลังมากกว่าสัตว์ทั้งหลาย
สัตว์เหล่านั้นพึงอนุวัตร
คล้อยตามไปสู่อำนาจแห่งสัตว์นั้นเอง
แม้ฉันใดภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ได้อบรม
กระทำให้มากซึ่งกายคตาสติ
ก็ฉันนั้นเหมือนกันตาย่อมฉุดภิกษุนั้น
ไปในรูปอันเป็นที่พอใจ
รูปอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูลหูย่อมฉุดภิกษุนั้น
ไปในเสียงอันเป็นที่พอใจ
เสียงอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูลจมูกย่อมฉุดภิกษุนั้น
ไปในกลิ่นอันเป็นที่พอใจ
กลิ่นอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูลลิ้นย่อมฉุดภิกษุนั้น
ไปในรสอันเป็นที่พอใจ
รสอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูลกายย่อมฉุดภิกษุนั้น
ไปในโผฏฐัพพะอันเป็นที่พอใจ
โผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูลใจย่อมฉุดภิกษุนั้น
ไปในธรรมอันเป็นที่พอใจ
ธรรมอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมเป็นของปฏิกูล…
ภิกษุทั้งหลาย
ความไม่สำรวม ( อสังวร )
ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล
( บาลี – สฬา. สํ. ๑๘/๒๔๖-๒๔๗/๓๔๘ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้