ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์
ในปัจจุบันและสัมปรายะ



ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่ง
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่สมควร แล้วทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในสัมปรายะ
มีอยู่หรือไม่หนอ ?



พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

พราหมณ์
ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในสัมปรายะ มีอยู่

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ก็ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในสัมปรายะ เป็นอย่างไร ?

พราหมณ์
ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในสัมปรายะ
นั่นคือ ความไม่ประมาท



พราหมณ์
เปรียบเหมือนรอยเท้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
ของสัตว์ทั้งหลาย ที่สัญจรไปบนแผ่นดิน
รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง
รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น
เพราะรอยเท้าช้างเป็นรอยเท้าใหญ่

ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน

พราหมณ์
ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในสัมปรายะ
นั่นคือ ความไม่ประมาท

พราหมณ์
เปรียบเหมือนกลอนชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งเรือนยอด
กลอนเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมโน้มน้อมรวมเข้าหายอดของเรือน
ยอดของเรือนชาวโลกกล่าวว่าเป็นเลิศแห่งกลอนเหล่านั้น

ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน

พราหมณ์
ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในสัมปรายะ
นั่นคือ ความไม่ประมาท

พราหมณ์
เปรียบเหมือนบุรุษผู้เกี่ยวหญ้า
เมื่อเกี่ยวหญ้าแล้ว ก็จับที่ยอด ถือคว่ำลง สลัด ฟาดไป

ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน

พราหมณ์
ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในสัมปรายะ
นั่นคือ ความไม่ประมาท

พราหมณ์
เปรียบเหมือนเมื่อพวงผลมะม่วงถูกตัดที่ต้นขั้ว
ผลมะม่วงลูกใดลูกหนึ่งที่ติดอยู่กับต้นขั้ว
ผลมะม่วงเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของติดไปกับขั้ว

ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน

พราหมณ์
ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในสัมปรายะ
นั่นคือ ความไม่ประมาท

พราหมณ์
เปรียบเหมือนพระราชา
ผู้ครองประเทศเล็ก ๆ พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
พระราชาเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมเป็นผู้ขึ้นตรงต่อพระเจ้าจักรพรรดิ
พระเจ้าจักรพรรดิชาวโลกกล่าวว่า
เป็นเลิศกว่าพระราชาเหล่านั้น

ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน

พราหมณ์
ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในสัมปรายะ
นั่นคือ ความไม่ประมาท

พราหมณ์
เปรียบเหมือนแสงสว่างชนิดใดชนิดหนึ่ง
แห่งดาวทั้งหลาย แสงสว่างเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมไม่ถึงส่วนที่สิบหกแห่งแสงสว่างของพระจันทร์
แสงสว่างของพระจันทร์ชาวโลกกล่าวว่า
เป็นเลิศกว่าแสงสว่างแห่งดาวเหล่านั้น

ฉันใดก็ฉันนั้นเหมือนกัน

พราหมณ์
ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในสัมปรายะ
นั่นคือ ความไม่ประมาท



พราหมณ์
ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในสัมปรายะ
นั่นคือ ความไม่ประมาทนี้แล

พราหมณ์นั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

ข้าแต่พระโคดผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนผู้หลงทาง
หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า
คนมีตาดีจะได้มองเห็นรูป ดังนี้

ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม
โดยอเนกปริยายอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ข้าพระองค์เหล่านี้
ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรม
และทั้งพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ

ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป


( บาลี – ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๐๗-๔๐๘/๓๒๔ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้


Create by buddha-quote.com