ผัสสายตนะ ๖



ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ ๖ ประการเหล่านี้
อันบุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา
ไม่สำรวมระวังแล้ว
ย่อมนำทุกข์หนักมาให้

ผัสสายตนะ ๖ ประการ
อะไรบ้าง คือ

( ๑ )
ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ คือ ตา
อันบุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา
ไม่สำรวมระวังแล้ว
ย่อมนำทุกข์หนักมาให้

( ๒ )
ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ คือ หู
อันบุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา
ไม่สำรวมระวังแล้ว
ย่อมนำทุกข์หนักมาให้

( ๓ )
ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ คือ จมูก
อันบุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา
ไม่สำรวมระวังแล้ว
ย่อมนำทุกข์หนักมาให้

( ๔ )
ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ คือ ลิ้น
อันบุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา
ไม่สำรวมระวังแล้ว
ย่อมนำทุกข์หนักมาให้

( ๕ )
ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ คือ กาย
อันบุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา
ไม่สำรวมระวังแล้ว
ย่อมนำทุกข์หนักมาให้

( ๖ )
ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ คือ ใจ
อันบุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา
ไม่สำรวมระวังแล้ว
ย่อมนำทุกข์หนักมาให้

ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ ๖ ประการเหล่านี้แล
อันบุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา
ไม่สำรวมระวังแล้ว
ย่อมนำทุกข์หนักมาให้



ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ ๖ ประการเหล่านี้
อันบุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมระวังดีแล้ว
ย่อมนำสุขมากมาให้

ผัสสายตนะ ๖ ประการ
อะไรบ้าง คือ

( ๑ )
ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ คือ ตา
อันบุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมระวังดีแล้ว
ย่อมนำสุขมากมาให้

( ๒ )
ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ คือ หู
อันบุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมระวังดีแล้ว
ย่อมนำสุขมากมาให้

( ๓ )
ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ คือ จมูก
อันบุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมระวังดีแล้ว
ย่อมนำสุขมากมาให้

( ๔ )
ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ คือ ลิ้น
อันบุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมระวังดีแล้ว
ย่อมนำสุขมากมาให้

( ๕ )
ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ คือ กาย
อันบุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมระวังดีแล้ว
ย่อมนำสุขมากมาให้

( ๖ )
ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ คือ ใจ
อันบุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมระวังดีแล้ว
ย่อมนำสุขมากมาให้

ภิกษุทั้งหลาย
ผัสสายตนะ ๖ ประการเหล่านี้แล
อันบุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี
สำรวมระวังดีแล้ว
ย่อมนำสุขมากมาให้



ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ไม่สำรวม
ผัสสายตนะ ๖ ประการเหล่าใด
ย่อมถึงความทุกข์

บุคคลเหล่าใด
ได้สำรวมระวังอายตนะเหล่านั้น
บุคคลเหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อนสอง
ย่อมเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยราคะอยู่

บุคคลเห็นรูปที่น่าชอบใจ
หรือเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว

พึงบรรเทาราคะในรูปที่น่าชอบใจ
และไม่พึงเสียใจว่ารูปของเราไม่น่ารัก
เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว

ได้ยินเสียงที่น่ารัก
หรือได้ยินเสียงที่ไม่น่ารักแล้ว

พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก
พึงบรรเทาโทสะในเสียงไม่ที่น่ารัก
และไม่พึงเสียใจว่าเสียงของเราไม่น่ารัก
เราได้ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว

ได้ดมกลิ่นที่น่ายินดีชอบใจ
หรือได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาด ไม่น่ารักใคร่

พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ
และไม่พึงพอใจในกลิ่นที่น่าชอบใจ

ได้ลิ้มรสที่อร่อยเล็กน้อย
หรือได้ลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว

ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความติดใจ
และไม่ควรยินร้ายเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย

ถูกสัมผัสที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว ไม่พึงมัวเมา
หรือถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้าแล้ว
ก็ไม่พึงหวั่นไหว

ควรวางเฉยผัสสะในทั้งสอง
ทั้งที่เป็นสุขและเป็นทุกข์
ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้ายเพราะผัสสะอะไร ๆ



นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา
มีความสำคัญในธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า
ยินดีอยู่ด้วยธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า
เป็นสัตว์ที่มีสัญญา ย่อมวนเวียนอยู่

ก็บุคคลบรรเทาใจ
อันเกี่ยวข้องด้วยเรือนทั้งปวงแล้ว
ย่อมรักษาใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ

ในกาลใดที่บุคคลอบรมใจดีแล้ว
ในอารมณ์ ๖ ประการอย่างนี้

ในกาลนั้น จิตของบุคคลนั้น
อันผัสสะที่เป็นสุข หรือผัสสะเป็นทุกข์
กระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหน ๆ

ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายครอบงำราคะและโทสะได้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ถึงจุดจบของชาติและมรณะ


( บาลี – สฬา. สํ. ๑๘/๘๘-๘๙/๑๒๘-๑๓๐ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้


Create by buddha-quote.com