ธรรมะของผู้สูงอายุ
ครั้งนั้น ท่านพระมาลุงกยบุตร
ผู้มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่าภันเต ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด
เมื่อข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว
จะพึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิดพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
มาลุงกยบุตร
ในการที่เธอขอโอวาทนี้
ในบัดนี้ เราจักบอกกะพวกทหรภิกษุอย่างไร
เพราะเธอเป็นผู้ชรา เป็นผู้แก่ เป็นผู้เฒ่า
เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ
ยังมาขอโอวาทโดยย่ออีกภันเต ถึงข้าพระองค์จะเป็นคนชรา
เป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า
เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับก็จริงถึงกระนั้น ขอพระผู้มีพระภาคผู้สุคต
โปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด
โดยประการที่ข้าพระองค์
จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาค
จะพึงเป็นผู้ได้รับภาษิตของพระผู้มีพระภาคมาลุงกยบุตร
เธอจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ?รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตาเหล่าใด
อันเธอไม่ได้เห็น ไม่เคยได้เห็น
ที่กำลังเห็นอยู่ก็ไม่มี
ที่เธอคิดว่าควรจะได้เห็นก็ไม่มี ดังนี้แล้วเธอจะมีความพอใจ มีความกำหนัด
หรือมีความรักในรูปเหล่านั้นหรือไม่มีเลย ภันเต
…
เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหูเหล่าใด
อันเธอไม่ได้ยิน ไม่เคยได้ยิน
ที่กำลังได้ยินอยู่ก็ไม่มี
ที่เธอคิดว่าควรจะได้ยินก็ไม่มี ดังนี้แล้วเธอจะมีความพอใจ มีความกำหนัด
หรือมีความรักในเสียงเหล่านั้นหรือไม่มีเลย ภันเต
…
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูกเหล่าใด
อันเธอไม่ได้ดม ไม่เคยได้ดม
ที่กำลังได้ดมอยู่ก็ไม่มี
ที่เธอคิดว่าควรจะได้ดมก็ไม่มี ดังนี้แล้วเธอจะมีความพอใจ มีความกำหนัด
หรือมีความรักในกลิ่นเหล่านั้นหรือไม่มีเลย ภันเต
…
รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้นเหล่าใด
อันเธอไม่ได้ลิ้ม ไม่เคยได้ลิ้ม
ที่กำลังได้ลิ้มอยู่ก็ไม่มี
ที่เธอคิดว่าควรจะได้ลิ้มก็ไม่มี ดังนี้แล้วเธอจะมีความพอใจ มีความกำหนัด
หรือมีความรักในรสเหล่านั้นหรือไม่มีเลย ภันเต
…
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายเหล่าใด
อันเธอไม่ได้ถูกต้อง ไม่เคยได้ถูกต้อง
ที่กำลังได้ถูกต้องอยู่ก็ไม่มี
ที่เธอคิดว่าควรจะได้ถูกต้องก็ไม่มี ดังนี้แล้วเธอจะมีความพอใจ มีความกำหนัด
หรือมีความรักในโผฏฐัพพะเหล่านั้นหรือไม่มีเลย ภันเต
…
ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยใจเหล่าใด
อันเธอไม่ได้รู้แจ้ง ไม่เคยได้รู้แจ้ง
ที่กำลังได้รู้แจ้งอยู่ก็ไม่มี
ที่เธอคิดว่าควรจะได้รู้แจ้งก็ไม่มี ดังนี้แล้วเธอจะมีความพอใจ มีความกำหนัด
หรือมีความรักในธรรมเหล่านั้นหรือไม่มีเลย ภันเต
…
มาลุงกยบุตร
ก็ในธรรมเหล่านั้น คือ
ในสิ่งที่เธอเห็นแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าเห็น
ในสิ่งที่เธอฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าฟัง
ในสิ่งที่เธอรู้สึกแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก
ในสิ่งที่เธอรู้แจ้งแล้ว ก็จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้งมาลุงกยบุตร
ในกาลใด
เมื่อเธอเห็น จักเป็นเพียงสักว่าเห็น
เมื่อฟัง จักเป็นเพียงสักว่าฟัง
เมื่อรู้สึก จักเป็นเพียงสักว่ารู้สึก
เมื่อรู้แจ้ง จักเป็นเพียงสักว่ารู้แจ้ง
ในกาลนั้น เธอย่อมไม่มีมาลุงกยบุตร
ในกาลใด เธอไม่มี
เธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้ ไม่ปรากฏในโลกอื่น
ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์
ภันเต
ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่าสติหลงลืมแล้วเพราะเห็นรูป
บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งรูปว่าน่ารัก
ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น
ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่เวทนาอันเกิดจากรูปเป็นอเนก ย่อมเจริญแก่เขานั้น
อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา
เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน…
สติหลงลืมแล้วเพราะฟังเสียง
บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งเสียงว่าน่ารัก
ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น
ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่เวทนาอันเกิดจากเสียงเป็นอเนก ย่อมเจริญแก่เขานั้น
อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา
เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน…
สติหลงลืมแล้วเพราะดมกลิ่น
บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งกลิ่นว่าน่ารัก
ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น
ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่เวทนาอันเกิดจากกลิ่นเป็นอเนก ย่อมเจริญแก่เขานั้น
อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา
เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน…
สติหลงลืมแล้วเพราะลิ้มรส
บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งรสว่าน่ารัก
ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น
ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่เวทนาอันเกิดจากรสเป็นอเนก ย่อมเจริญแก่เขานั้น
อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา
เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน…
สติหลงลืมแล้วเพราะถูกต้องโผฏฐัพพะ
บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งโผฏฐัพพะว่าน่ารัก
ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น
ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่เวทนาอันเกิดจากโผฏฐัพพะเป็นอเนก ย่อมเจริญแก่เขานั้น
อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา
เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน…
สติหลงลืมแล้วเพราะรู้แจ้งธรรม
บุคคลเมื่อใส่ใจถึงนิมิตแห่งธรรมว่าน่ารัก
ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น
ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่เวทนาอันเกิดจากธรรมป็นอเนก ย่อมเจริญแก่เขานั้น
อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา
เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่าห่างไกลนิพพาน
บุคคลนั้นเห็นรูปแล้วมีสติ
ไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย
มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น
ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่บุคคลนั้นเมื่อเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น
เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน…
บุคคลนั้นฟังเสียงแล้วมีสติ
ไม่กำหนัดในเสียงทั้งหลาย
มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น
ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่บุคคลนั้นเมื่อฟังเสียงและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น
เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน…
บุคคลนั้นดมกลิ่นแล้วมีสติ
ไม่กำหนัดในกลิ่นทั้งหลาย
มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น
ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น
เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน…
บุคคลนั้นลิ้มรสแล้วมีสติ
ไม่กำหนัดในรสทั้งหลาย
มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น
ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่บุคคลนั้นเมื่อลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น
เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน…
บุคคลนั้นถูกต้องโผฏฐัพพะแล้วมีสติ
ไม่กำหนัดในโผฏฐัพพะทั้งหลาย
มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น
ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่บุคคลนั้นเมื่อถูกต้องโผฏฐัพพะและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น
เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน…
บุคคลนั้นรู้แจ้งธรรมแล้วมีสติ
ไม่กำหนัดในธรรมทั้งหลาย
มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น
ทั้งไม่มีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่บุคคลนั้นเมื่อรู้แจ้งธรรมและเสวยเวทนาอยู่
ทุกข์ก็สิ้นไปไม่เพิ่มพูนขึ้น
เขาเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
บัณฑิตกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน…
ภันเต
ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อได้โดยพิสดารอย่างนี้
สาธุ สาธุ มาลุงกยบุตร มาลุงกยบุตร
เธอรู้ทั่งถึงเนื้อความแห่งภาษิต
ที่เรากล่าวแล้วโดยย่อ
ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ถูกต้องแล้วครั้งนั้น ท่านพระมาลุงกยบุตร
ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วหลีกไปต่อมา ท่านพระมาลุงกยบุตร
เป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตเด็ดเดี่ยวอยู่
ไม่ช้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์
อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า
อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรทั้งหลาย
ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ก็แลท่านพระมาลุงกยบุตรได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่ง
ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย
( บาลี – สฬา. สํ. ๑๘/๘๙-๙๑/๑๓๑-๑๓๓ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้