กรรมเก่า กรรมใหม่
ภิกษุทั้งหลาย !
กรรมเก่า เป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุทั้งหลาย !
จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มนะอันเธอทั้งหลายพึงเห็นว่าเป็น
ปุราณกัมม อภิสังขตะ
อภิสัญเจตยิตะ เวทนียะภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรียกว่า กรรมเก่า
ภิกษุทั้งหลาย !
กรรมใหม่ เป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุทั้งหลาย !
ข้อที่บุคคลกระทำกรรม
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใดภิกษุทั้งหลาย !
อันนี้เรียกว่า กรรมใหม่
ภิกษุทั้งหลาย !
กัมมนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุทั้งหลาย !
ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่ง
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใดภิกษุทั้งหลาย !
อันนี้เรียกว่า กัมมนิโรธ
ภิกษุทั้งหลาย !
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ?กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ
อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้นั่นเองได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
( สัมมาทิฏฐิ )
ความเห็นชอบ( สัมมาสังกัปปะ )
ความดำริชอบ( สัมมาวาจา )
วาจาชอบ( สัมมากัมมันตะ )
การงานชอบ( สัมมาอาชีวะ )
อาชีวะชอบ( สัมมาวายามะ )
ความเพียรชอบ( สัมมาสติ )
ความระลึกชอบ( สัมมาสมาธิ )
ความตั้งใจมั่นชอบภิกษุทั้งหลาย !
นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา
ภิกษุทั้งหลาย !
ด้วยประการดังนี้แลกรรมเก่า
เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายกรรมใหม่
เราก็แสดงแล้วกัมมนิโรธ
เราก็ได้แสดงแล้วกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา
เราก็ได้แสดงแล้ว…
ภิกษุทั้งหลาย !
กิจใดที่ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลายกิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ
…
ภิกษุทั้งหลาย !
นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างพวกเธอจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท
อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลังเลยนี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา
แก่เธอทั้งหลาย
( บาลี – สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖-๑๖๗/๒๒๗-๒๓๑ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้