ถ้าเหตุแห่งการอ้อนวอนเป็นจริงได้
ในโลกนี้ ใครจะพึงเสื่อมจากอะไร
ดูกรคฤหบดี !
ธรรมห้าประการนี้ น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลกห้าประการเป็นไฉน คือ
อายุ ๑ วรรณะ ๑
สุขะ ๑ ยศ ๑ สวรรค์ ๑ดูกรคฤหบดี !
ธรรมห้าประการนี้แล น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก
ธรรมห้าประการนี้ น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลกเรามิได้กล่าวว่า
จะพึงได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน
หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนา…
ถ้าธรรมห้าประการนี้ น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลกจักได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน
หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนาแล้วไซร้
ในโลกนี้ ใครจะพึงเสื่อมจากอะไร
ดูกรคฤหบดี
อริยสาวกผู้ต้องการอายุ
ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินอายุ
หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุอริยสาวกผู้ต้องการอายุ
พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุเพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุ
ที่พระอริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้อายุอริยสาวกนั้นย่อมได้อายุที่เป็นของทิพย์
หรือเป็นของมนุษย์
อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ
ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินวรรณะ
หรือแม้เพราะเหตุแห่งวรรณะอริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ
พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะเพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะ
ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้วรรณะอริยสาวกนั้นย่อมได้วรรณะที่เป็นของทิพย์
หรือเป็นของมนุษย์
อริยสาวกผู้ต้องการสุข
ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสุข
หรือแม้เพราะเหตุแห่งสุขอริยสาวกผู้ต้องการสุข
พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุขเพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุข
ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สุขอริยสาวกนั้นย่อมได้สุขที่เป็นของทิพย์
หรือของมนุษย์
อริยสาวกผู้ต้องการยศ
ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินยศ
หรือแม้เพราะเหตุแห่งยศอริยสาวกผู้ต้องการยศ
พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศเพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศ
ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ยศอริยสาวกนั้นย่อมได้ยศที่เป็นของทิพย์
หรือของมนุษย์
อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์
ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสวรรค์
หรือแม้เพราะเหตุแห่งสวรรค์อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์
พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์
ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สวรรค์อริยสาวกนั้นย่อมได้สวรรค์
ชนผู้ปรารถนา
อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สวรรค์
ความเกิดในตระกูลสูงและความเพลินใจ
พึงทำความไม่ประมาทให้มากยิ่งขึ้นบัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
ความไม่ประมาทในการทำบุญบัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว
ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในสัมปรายภพผู้มีปัญญาท่านเรียกว่าบัณฑิต
เพราะบรรลุถึงประโยชน์ทั้งสองนั้น
( บาลี – ปญฺจก.-ฉกฺก. อํ. ๒๒/๕๑-๕๓/๔๓ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้