ยาพิษในโลก และผู้ตกเหว
ภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนถ้วยดื่มสำริด
มีเครื่องดื่มใส่อยู่แล้วชนิดหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยสี
กลิ่น และรส แต่ว่ามียาพิษปนติดอยู่ครั้งนั้น มีบุรุษผู้หนึ่งซึ่งกำลังร้อนจัด
มีความร้อนระอุไปทั้งตัว เหน็ดเหนื่อย
คอแห้งกระหายน้ำมาถึงเข้าคนทั้งหลายบอกแก่บุรุษนั้นว่า
…
นี่แน่ะท่านผู้เจริญ !
ถ้วยดื่มสำริดใบนี้มีเครื่องดื่ม สมบูรณ์ด้วยสี
กลิ่น และรสสำหรับท่าน แต่ว่ามียาพิษปนติดอยู่ถ้าหากท่านต้องการดื่ม ก็ดื่มได้
เมื่อท่านกำลังดื่ม จักติดใจมันด้วยสีของมันบ้าง
ด้วยกลิ่นของมันบ้าง ด้วยรสของมันบ้าง
แต่ว่าครั้นดื่มเข้าไปแล้ว ท่านจักถึงความตาย
หรือรับทุกข์เจียนตายเพราะเหตุนั้น ดังนี้บุรุษนั้นไม่ทันจะพิจารณาถ้วยดื่มสำริดอันนั้น
รีบดื่มเอา ๆ ไม่ยอมวาง บุรุษนั้นก็ถึงความตาย
หรือรับทุกข์เจียนตายเพราะเหตุนั้น ฉันใด…
ภิกษุทั้งหลาย !
สมณะหรือพราหมณ์พวกใด
ในกาลอดีตก็ตาม
ในกาลอนาคตก็ตาม
ในกาลบัดนี้ก็ตาม
ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมเห็นสิ่งอันเป็นที่รักที่สนิทใจในโลก
โดยความเป็นของเที่ยง
โดยความเป็นสุข
โดยความเป็นตัวตน
โดยความเป็นของไม่เสียบแทง
โดยความเป็นของเกษมสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น
ย่อมทำตัณหาให้เจริญเมื่อทำตัณหาให้เจริญอยู่
ก็ทำอุปธิให้เจริญเมื่อทำอุปธิให้เจริญอยู่
ก็ทำทุกข์ให้เจริญเมื่อทำทุกข์ให้เจริญอยู่
สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นย่อมไม่หลุดพ้น
จากความเกิด ความแก่ ความตาย
ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจเราตถาคตย่อมกล่าวว่า
พวกเหล่านั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้
( บาลี – นิทาน. สํ. ๑๖/๑๓๓-๑๓๔/๒๖๐ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้
ภิกษุทั้งหลาย !
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดก็ตาม
ยังไม่รู้ตามที่เป็นจริงว่าทุกข์
เป็นเช่นนี้ ๆเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นเช่นนี้ ๆความดับสนิทแห่งทุกข์
เป็นเช่นนี้ ๆทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
เป็นเช่นนี้ ๆสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น
ย่อมยินดีอย่างยิ่งในเหตุปัจจัย
เครื่องปรุงแต่งชนิดที่เป็นไปเพื่อ
ความเกิด ความแก่ ความตาย
ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ…
เขาผู้ยินดีในเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่งชนิดนั้น ๆ
แล้วย่อมก่อสร้างเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่ง
ชนิดที่เป็นไปเพื่อความเกิดเป็นต้นนั้น ๆครั้นเขาก่อสร้างเหตุปัจจัยนั้น ๆ แล้ว
เขาก็ตกลงไปในเหวแห่งความเกิดบ้าง
ในเหวแห่งความแก่บ้าง
ในเหวแห่งความตายบ้าง
ในเหวแห่งความโศกบ้าง
ในเหวแห่งความร่ำไรรำพันบ้าง
ในเหวแห่งความทุกข์กายบ้าง
ในเหวแห่งความทุกข์ใจบ้าง
ในเหวแห่งความคับแค้นใจบ้าง อยู่นั้นเองสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นย่อมไม่หลุดพ้นจาก
ความเกิด ความแก่ ความตาย
ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจเราตถาคตย่อมกล่าวว่า
พวกเหล่านั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้
( บาลี – มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๐-๕๖๑/๑๗๒๙ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้