ความดับของขันธ์ห้า
คือ ความดับของทุกข์



ภิกษุทั้งหลาย !
ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ
ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของรูป ของเวทนา
ของสัญญา ของสังขาร และของวิญญาณใด ๆ

อันนั้นแหละ
เป็นความดับของทุกข์

อันนั้นแหละ
เป็นความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทงทั้งหลาย

อันนั้นแหละ
เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ


( บาลี – ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๘๗/๔๙๘ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้



ภิกษุทั้งหลาย !
ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ
ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ

ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มากอยู่ด้วย
ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป

เป็นผู้มากอยู่ด้วย
ความรู้สึกเบื่อหน่ายในเวทนา

เป็นผู้มากอยู่ด้วย
ความรู้สึกเบื่อหน่ายในสัญญา

เป็นผู้มากอยู่ด้วย
ความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังขาร

เป็นผู้มากอยู่ด้วย
ความรู้สึกเบื่อหน่ายในวิญญาณ

ภิกษุนั้น
เมื่อเป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่าย
ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ

ย่อมรู้รอบซึ่งรูป
ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป
ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ

ย่อมหลุดพ้นจากรูป
จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ
ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ

เราตถาคตกล่าวว่า
เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้



ภิกษุทั้งหลาย !
ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ
ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ

ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ตามเห็น
ความไม่เที่ยงในรูปอยู่เป็นประจำ

เป็นผู้ตามเห็น
ความไม่เที่ยงในเวทนาอยู่เป็นประจำ

เป็นผู้ตามเห็น
ความไม่เที่ยงในสัญญาอยู่เป็นประจำ

เป็นผู้ตามเห็น
ความไม่เที่ยงในสังขารอยู่เป็นประจำ

เป็นผู้ตามเห็น
ความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่เป็นประจำ

ภิกษุนั้น
เมื่อเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง
ในรูป ในเวทนา ในสัญญา
ในสังขาร ในวิญญาณอยู่เป็นประจำ

ย่อมรู้รอบซึ่งรูป
ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป
ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ

ย่อมหลุดพ้นจากรูป
จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ
ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ

เราตถาคตกล่าวว่า
เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้



ภิกษุทั้งหลาย !
ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ
ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ

ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ตามเห็น
ความเป็นทุกข์ในรูปอยู่เป็นประจำ

เป็นผู้ตามเห็น
ความเป็นทุกข์ในเวทนาอยู่เป็นประจำ

เป็นผู้ตามเห็น
ความเป็นทุกข์ในสัญญาอยู่เป็นประจำ

เป็นผู้ตามเห็น
ความเป็นทุกข์ในสังขารอยู่เป็นประจำ

เป็นผู้ตามเห็น
ความเป็นทุกข์ในวิญญาณอยู่เป็นประจำ

ภิกษุนั้น
เมื่อเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์
ในรูป ในเวทนา ในสัญญา
ในสังขาร ในวิญญาณอยู่เป็นประจำ

ย่อมรู้รอบซึ่งรูป
ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป
ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ

ย่อมหลุดพ้นจากรูป
จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ
ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ

เราตถาคตกล่าวว่า
เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้



ภิกษุทั้งหลาย !
ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ
ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ

ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ตามเห็น
ความเป็นอนัตตาในรูปอยู่เป็นประจำ

เป็นผู้ตามเห็น
ความเป็นอนัตตาในเวทนาอยู่เป็นประจำ

เป็นผู้ตามเห็น
ความเป็นอนัตตาในสัญญาอยู่เป็นประจำ

เป็นผู้ตามเห็น
ความเป็นอนัตตาในสังขารอยู่เป็นประจำ

เป็นผู้ตามเห็น
ความเป็นอนัตตาในวิญญาณอยู่เป็นประจำ

ภิกษุนั้น
เมื่อเป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา
ในรูป ในเวทนา ในสัญญา
ในสังขาร ในวิญญาณอยู่เป็นประจำ

ย่อมรู้รอบซึ่งรูป
ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป
ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ

ย่อมหลุดพ้นจากรูป
จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ
ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ

เราตถาคตกล่าวว่า
เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้


( บาลี – ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๐-๕๒/๘๓-๘๖ )
เทียบเคียงพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ กดที่นี้


Create by buddha-quote.com